รูปแบบการติดตั้งโซล่าเซล
รูปแบบหรือระบบการติดตั้งโซล่าเซล จะมีด้วยกันหลักๆอยู่ 3ระบบ คือ
1. ระบบไฟฟ้เชื่อมต่อการทำงานของโซล่าเซลกับการไฟฟ้า
Grid-connected Solar Power System
ระบบนี้อาจดูเหมือนเทคโนโลยี่ที่อยู่เบื้องหลังพลังงานแสงอาทิตย์ จะมีความซับซ้อนแต่จริงๆแล้วมีเพียงอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันในระบบไม่กี่ชิ้นเท่านั้น ที่ต้องติดตั้ง
1.1 แผงโซล่าเซล ทำหน้าที่สร้างกระแสไฟฟ้า
1.2 อินเวอร์เตอร์ inverter ทำหน้าที่แปลงไฟจากแผงโซล่าเซล ที่เป็นไฟกระแสงตรง ให้เป็น กระแส
สลับ 220V 50HZ AC
ระบบนี้เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีไฟฟ้าใช้อยู่แล้ว แต่ต้องการประหยัดค่าไฟ กล่าวคือ จะมีการผลิตกระแสไฟจากแผงโซล่าเซล เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ ที่เรียกว่า อินเวอร์เตอร์ inverter ซึ่งจะทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้า DC ให้เป็น 220 V 50HZ AC แล้วจึงนำกระแสไฟที่แปลงแล้วนั้น ไปใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ถ้าระบบมีการผลิตไฟฟ้าเกินกว่าที่ใช้ในบ้าน กระแสไฟฟ้าส่วนที่เกิน จะถูกป้อนกลับเข้าไปในระบบการไฟฟ้า
2. ระบบติดตั้งแบบอิสระ Stand Alone Power System (SAPS หรือ SPS)
ระบบนี้เหมาะสำหรับพี้นที่ที่ไม่มีไฟใช้ ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง เริ่มจากท่านต้องวิเคราะห์ คำณวน หาปริมาณการใช้ไฟแต่ละวันในบ้านของท่าน ( โดยคิดจากเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งมักดูได้จากป้ายหรือสติ๊กเกอร์ที่ระบุรายละเอียดสินค้านั้นๆดูจำนวนวัตต์ watt ว่าเท่าไหร่) แล้วคูณกับเวลาหรือชั่วโมงการใช้ไฟในแต่ละวัน
หลักการทำงานของระบบ SAPS นี้ สามารถแบ่งได้เป็น2ช่วง คือกลางวัน และกลางคืน กล่าวคือ เวลากลางวัน เมื่อแผงโซล่า ได้รับแสงแดดก็จะผลิตกระแสไฟจ่ายให้ตัวโหลดหรือชาร์ดเจอร์ซึ่งมีการชาร์จเก็บไว้ในแบตเตอรี่ ส่วนเวลากลางคืน ก็สามารถดึงไฟที่เก็บในแบตเตอรี่ มาใช้ได้ ระบบนี้ประกอบด้วย
2.1 แผงโซล่าเซล ทำหน้าที่สร้างกระแสไฟฟ้า
2.2 เครื่องควบคุมประจุแบตเตอรี่ charge controller ปรับแรงดันไฟให้เข้ากับแบตเตอรี่
2.3 แบตเตอรี่ ทำหน้าที่เก็บไฟฟ้า และสำรองไฟไว้ใช้ในเวลากลางคืน
2.1 เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า อินเวอร์เตอร์ inverter ทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าให้เป็น220 V 50HZ AC เพื่อใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านได้
3.ระบบผสมผสาน หรือที่เรียกว่า Hybrid Renewable Energy System (HRES)
เหมาะกับพื้นที่ที่ไม่มีไฟใช้ แต่มีแหล่งพลังงานมากกว่าหนึ่งแห่ง ส่วนมากได้รับความนิยมติดตั้งตามเกาะต่างๆ เป็นการผสมผสานระหว่างพลังงานสองแห่งหรือหลายแบบขึ้นไป เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม เครื่องปั่นไฟที่ใช้น้ำมัน เป็นต้นประกอบด้วย
3.1 แผงโซล่าเซล ทำหน้าที่สร้างกระแสไฟฟ้า
3.2 เครื่องควบคุมประจุแบตเตอรี่ หริอ charge controller ทำหน้าที่ปรับแรงดันให้เหมาะกับการประจุไฟให้เข้ากับแบตเตอรี่
3.3แบตเตอรี่ ทำหน้าที่เก็บไฟฟ้า
3.4 เครื่องแปลงกระแสไฟแบบสองทาง off grid inverter ทำหน้าที่แปลงกระแสไฟให้เป็น220V50HZ
AC เพื่อใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
เมื่อมีแหล่งผลิตกระแสไฟชนิดใดที่มีปัญหาไม่สามารถผลิตไฟได้ ก็จะมีแหล่งที่สอง ทำหน้าที่แทนกันได้โดยอัตโนมัติ เช่นถ้าไม่มีแดด กังหันลมก็จะทำหน้าที่สร้างกระแสไฟให้ได้ ทำให้ระบบสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม เพื่อความเหมาะสม และความคุ้มค่าของการลงทุน และเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด จากพลังงานทดแทน พื้นที่ใดควรใช้ระบบใด ท่านสามารถปรึกษา สอบถามรายละเอียดกับทางทีมงาน ได้ จากเวป
:www.pajonpai.com หรือ สอบถามที่อีเมล email:pajonpai@gmail.com เราจะตอบกลับทุกๆเมลภายใน24ชั่วโมง