รูปแบบติดตั้งsolarcell

 

ชุดและรูปแบบที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆตามต้องการ

วิธีการวางต่อรูปแบบฟร์อมของวงจรโซล่า

 

 

ช่างติดตั้งsolar system

 

 

 

 

 

Solar Cell 280W ที่ 1 แผ่น (ใช้อะไรได้บ้าง)

- แผงโซล่าเซล 1แผงสามารถผลิตกระแสไฟฟ้า ทั้งวันจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้ประมาณ 980W
- เราจะใช้อะไรได้บ้าง เช่น
 
  1. TV กินไฟ 100W 1 เครื่องใช้งาน 3 ชม. = 1x100x4 = 300W
  2. พัดลม กินไฟ 50W 1 เครื่องใช้งาน 10 ชม. = 1x50x12 = 500W
  3. หลอดไฟ LED 12V 6.0W 2 หลอด ใช้งาน 4 ชม. = 2x6x4 = 48W (ในบ้าน)
  4. หลอดไฟ LED 12V 4W 2 หลอด ใช้งาน 12 ชม. = 2x4x12 = 96W (ไฟรั้วทั้งคืน)

รวมใช้ไฟทั้งวันเพียง 300+500+48+96 = 944W

 

การออกแบบขนาดของระบบเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับติดตั้งบนหลังคาบ้าน

ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดกำลังไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์ที่ควรติดตั้ง

เจ้าของบ้านควรพิจารณาว่าจะใช้เซลล์แสงอาทิตย์สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าใดบ้างเพื่อจะได้ติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ได้เพียงพอกับความต้องการและไม่ติดตั้งมากเกินความจำเป็น

ตัวอย่างที่1 บ้านหลังหนึ่งมีเครื่องใช้ไฟฟ้าและชั่วโมงของการใช้งานดังนี้

เครื่องใช้ไฟฟ้า
จำนวน(1)
กำลังไฟฟ้าต่อชิ้น (วัตต์)(2)
จำนวนชั่วโมงที่ใช้งานในหนึ่งวัน (3)
ผลคำนวนวัตต์-ชั่วโมง) (1)x(2)x(3)
 
 
หลอดฟลูออเรสเซนต์
2
36
5
360
 
 
โทรทัศน์
1
100
3
300
 
 
เครื่องปรับอากาศ
1
1,500
4
6,000
 
 
อื่นๆ
-
100
1
100
 
 
 
 
 
รวม
6,760
 

-จากตารางข้างต้นนี้ได้ข้อมูลในหนึ่งวันบ้านหลังนี้ใช้ไฟฟ้า 6,760 วัตต์-ชั่วโมง กำลังไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์ที่ควรติดตั้ง
(Pcell)คำนวนได้ง่ายๆจากสูตรดังต่อไปนี้

                                Pcell = Pl/(QxAxBxC/D)

โดยที่     Pl : ความต้องการพลังงานไฟฟ้าในหนึ่งวัน
             Q : พลังงานแสงอาทิตย์ในหนึ่งวัน (วัตต์-ชั่วโมง/ตารางเมตร) สำหรับประเทศไทยเท่ากับ 4,000 วัตต์-ชั่วโมง/ตารางเมตรโดยประมาณ
             A : ค่าชดเชยการสูญเสียของเซลล์ โดยทั่วไปกำหนดค่าประมาณ 0.8
             B : ค่าชดเชยความสูญเสียเชิงความร้อน โดยทั่วไปกำหนดค่าประมาณ 0.85
             C : ประสิทธิภาพของอินเวอร์เตอร์ โดยทั่วไปกำหนดค่าประมาณ 0.85 –0.9
             D : ความเข้มแสงปกติ = 1,000 วัตต์-ชั่วโมง/ตารางเมตร
เพราะฉะนั้น บ้านหลังนี้ต้องใช้เซลล์แสงอาทิตย์ที่ให้กำลังไฟฟ้เท่ากับ
Pcell = (6,760/4,000x0.8x0.85x0.85/1,000) = 2,923 W หรือประมาณ 2.9 kW 


ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดจำนวนแผงของเซลล์แสงอาทิตย์
จำนวนแผงของเซลล์แสงอาทิตย์คำนวณได้โดยใช้กำลังไฟฟ้าของระบบหารด้วยกำลัง ไฟฟ้าที่เซลล์หนึ่งแผงที่ผลิตได้เมื่อทราบค่าจำนวนแผงแล้วขั้นตอนต่อไปคือจะ ต้องคำนวลว่าจะต้องนำเซลล์มาต่ออนุกรมหรือขนานกันอย่างไรจึงจะได้แรงดันไฟ ฟ้าทื่เพียงพอต่อการใช้งานจำนวนแผงเซลล์ที่จะต้องต่ออนุกรมกันหาได้โดยการ ใช้ค่าแรงดัรไฟฟ้าที่ต้องการหารด้วยแรงดันเอาต์พุตของหนึ่งแผง

ตัวอย่างที่ 2 จากตัวอย่าง ที่หนึ่งทราบว่าจะต้องติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์เท่ากับ 2.9 kW และแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงที่ต้องป้อนให้อินเวอร์เตอร์คือ 200 v ถามว่าจะต้องใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์กี่แผงและจะต้องต่อเรียงกันอย่างไร โดย สมมุติว่า แผงเซลล์แสงอาทิตย์มีสเปกดังนี้ให้กำลังไฟฟ้าสูงสุดเท่า กับ 50 วัตต์ (W) แรงดันไฟฟ้าสู.สุด 17 โวลต์ (V) กระแสไฟฟ้าสูงสุดเท่า กับ 2.94 แอมแปร์ (A) แรงดันไฟฟ้าวงจรเปิด 21.3 โวลต์ (V) และกระแสไฟฟ้าลัด วงจร 3.15 แอมแปร์ (A)

วิธีพิจารณา
ประมาณการเริ่มแรกของจำนวนของแผงเซลล์ที่ต้องติดตั้งทั้งหมด
= 2,900 (W) / 50  (W)  =  58 แผง
จำนวนของแผงเซลล์ที่ต่ออนุกรม 
=  200(V)/ 17(V)   =12แผง(ปัดเศษขึ้น)
จำนวนแผงที่ต้องต่อขนาน
= 58 / 12   = 5 แถว (ปัดเศษขึ้น)
ดังนั้นกรณีบ้านหลังนี้จะใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ทั้งหมด
= 12 x 5 = 60 แผง
โดยต่ออนุกรมแถวละ 12 แผงและต่อขนาน จำนวน5 แถว

 


  • รูปแบบการติดตั้งโซล่าเซล รูปแบบหรือระบบการติดตั้งโซล่าเซล จะมีด้วยกันหลักๆอยู่ 3ระบบ คือ 1. ระบบไฟฟ้เชื่อมต่อการทำงานของโซล่าเซลกับการไฟฟ้า Grid-connected Solar Power System...

  • NewsTh_field_engineer.jpg
    ช่างติดตั้งsolar systemการเดินสายไฟฟ้าและการต่อการจัดวางและsetting solar cell กับ อุปกรณ์การวางระบบ solar system และการใช้งานแผ่งโซล่า,อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช่ติดตั้งระยะการเดินท...
Visitors: 170,452